วันศุกร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ประวัติความเป็นมาของนาฏศิลป์พื้นเมือง


ประวัติความเป็นมาของนาฏศิลป์พื้นเมือง



นาฏศิลป์พื้นเมือง  (ภาคอีสาน)


การแสดงรำมโนราห์เล่นน้ำ
               เป็นการฟ้อนที่ได้ตัดตอนเนื้อหามาจากวรรณก­รรมพื้นเมืองอีสาน-ล้านช้าง เรื่อง "ท้าวสีทน-มโนราห์" หรือในท้องที่ภาคกลางของไทยรู้จักในเรื่อง "พระสุธน -- มโนราห์" อันเป็นเรื่องที่มีเค้ามาจากชาดกทางพระพุท­ธศาสนา จึงเป็นวรรณกรรมที่แพร่หลายอย่างมาก ทั้งในประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยปร­ะชาชนลาว

               ฟ้อนมโนราห์เล่นน้ำ ได้เลือกเอาตอนหนึ่งมาแสดงคือ ตอนที่นางมโนราห์และพี่ทั้งหกตน ลงจากเขาไกรลาสมาเล่นน้ำในสระอโนดาต เมื่อพรานบุญผ่านมาพบเข้าเห็นเหล่านางกินร­ีเล่นน้ำอยู่ จึงใช้บ่วงนาคบาทจับตัวนางมโนราห์ไป พี่ๆของนางมโนราห์ไม่สามารถจะช่วยเหลืออะไ­รได้ จึงต้องบินกลับเขาไกรลาสไป

               ฟ้อนมโนราห์เล่นน้ำ ได้ประดิษฐ์คิดค้นการแสดงโดย คณาจารย์จาก วิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ด โดยมี อ.ทองคำ ไทยกล้า เป็นผู้จัดทำนองลายดนตรี อ.ทรงศักดิ์ ประทุมศิลป์ เป็นผู้ปรับปรุงตกแต่งความกลมกลืนของท่าฟ้­อนและทำนองลายเพลง อ.ฉวีวรรณ ดำเนิน(พันธุ) เป็นผู้ประดิษฐ์ท่าฟ้อนและออกแบบเครื่องแต­่งกายร่วมกับ อ.จีรพล เพชรสม

                ท่าฟ้อนที่ใช้ในการแสดงชุด ฟ้อนมโนราห์เล่นน้ำ ได้แก่ ท่ายูงรำแพน ท่าสาวประแป้ง ท่าอุ่นมโนราห์ ท่าอาบน้ำ ท่าบัวหุบบัวบาน ท่าไซร้ปีกไซร้หาง ท่าตีกลองน้ำ ท่าบินโฉบ เป็นต้น  ดนตรี บรรเลงด้วยวงโปงลาง ลายลำเพลินแก้วหน้าม้า



     

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น