วันศุกร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

แบบฝึกหัด งานชิ้นที่ 1




งานชิ้นที่  1

     1.  ให้นักเรียนหาประวัติความเป็นมาของการแสดงนาฏศิลป์พื้นเมืองของทั้ง 4 ภาค  มาภาคละ  1  การแสดง  พร้อมหารูปภาพ  วีดีโอ  หรือบทเพลงของการแสดงมาประกอบ

แบบทดสอบหลังเรียน



แบบทดสอบหลังเรียน
เรื่องประวัติความเป็นมาของนาฏศิลป์พื้นเมือง

1.  ข้อใดหมายถึงการแสดงของนาฏศิลป์พื้นเมืองภาคอีสาน
      ก.  เซิ้งกระติ๊บ
      ข.  รำอวยพรอ่อนหวาน
      ค.  ฟ้อนเล็บ
      ง.  ถูกทุกข้อ

2.  ข้อใดหมายถึงเอกลักษณ์ของนาฏศิลป์พื้นเมืองภาคอีสาน
     ก.  มีดนตรีที่สนุกสนาน
     ข.  การนำเอาวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่นมาดัดแปลงเป็นการแสดงต่าง ๆ
     ค.  เป็นการแสดงที่สะท้อนถึงความเชื่อในภูตผีปีศาจ
     ง.  ถูกทุกข้อ

3.  นาฏศิลป์พื้นเมืองภาคอีสานได้รับอิทธิพลมาจากสมัยใด
     ก.  กรุงศรีอยุธยา
     ข.  รัตนโกสินทร์
     ค.  กรุงธนบุรี
     ง.  ถูกทุกข้อ

4.  ข้อใดไม่ใช่การแสดงของนาฏศิลป์ไทย
     ก.  การรำสีนวล
     ข.  โขน
     ค.  การเต้นบัลเลต์
     ง.  ไม่มีข้อใดถูก

5.  การแสดงนาฏศิลป์ของไทยข้อใดที่ถือว่าเป็นเอกลักษณ์ของ     ประเทศไทย
     ก.  โขน
     ข.  ลิเก
     ค.  ลำตัด
     ง.  เพลงฉ่อย

ประวัติความเป็นมาของนาฏศิลป์พื้นเมือง


ประวัติความเป็นมาของนาฏศิลป์พื้นเมือง



นาฏศิลป์พื้นเมือง  (ภาคอีสาน)


การแสดงรำมโนราห์เล่นน้ำ
               เป็นการฟ้อนที่ได้ตัดตอนเนื้อหามาจากวรรณก­รรมพื้นเมืองอีสาน-ล้านช้าง เรื่อง "ท้าวสีทน-มโนราห์" หรือในท้องที่ภาคกลางของไทยรู้จักในเรื่อง "พระสุธน -- มโนราห์" อันเป็นเรื่องที่มีเค้ามาจากชาดกทางพระพุท­ธศาสนา จึงเป็นวรรณกรรมที่แพร่หลายอย่างมาก ทั้งในประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยปร­ะชาชนลาว

               ฟ้อนมโนราห์เล่นน้ำ ได้เลือกเอาตอนหนึ่งมาแสดงคือ ตอนที่นางมโนราห์และพี่ทั้งหกตน ลงจากเขาไกรลาสมาเล่นน้ำในสระอโนดาต เมื่อพรานบุญผ่านมาพบเข้าเห็นเหล่านางกินร­ีเล่นน้ำอยู่ จึงใช้บ่วงนาคบาทจับตัวนางมโนราห์ไป พี่ๆของนางมโนราห์ไม่สามารถจะช่วยเหลืออะไ­รได้ จึงต้องบินกลับเขาไกรลาสไป

               ฟ้อนมโนราห์เล่นน้ำ ได้ประดิษฐ์คิดค้นการแสดงโดย คณาจารย์จาก วิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ด โดยมี อ.ทองคำ ไทยกล้า เป็นผู้จัดทำนองลายดนตรี อ.ทรงศักดิ์ ประทุมศิลป์ เป็นผู้ปรับปรุงตกแต่งความกลมกลืนของท่าฟ้­อนและทำนองลายเพลง อ.ฉวีวรรณ ดำเนิน(พันธุ) เป็นผู้ประดิษฐ์ท่าฟ้อนและออกแบบเครื่องแต­่งกายร่วมกับ อ.จีรพล เพชรสม

                ท่าฟ้อนที่ใช้ในการแสดงชุด ฟ้อนมโนราห์เล่นน้ำ ได้แก่ ท่ายูงรำแพน ท่าสาวประแป้ง ท่าอุ่นมโนราห์ ท่าอาบน้ำ ท่าบัวหุบบัวบาน ท่าไซร้ปีกไซร้หาง ท่าตีกลองน้ำ ท่าบินโฉบ เป็นต้น  ดนตรี บรรเลงด้วยวงโปงลาง ลายลำเพลินแก้วหน้าม้า



     

แผนการสอนรายวิชานาฏศิลป์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 1




แผนการสอนรายวิชานาฏศิลป์
Course Syllabus
1. รหัสวิชา                                            ศ 22102
2. จำนวนหน่วยกิต                            0.5
3. ชื่อวิชา                                               นาฏศิลป์ 2
4. ภาคการศึกษาที่                               1
5. หน่วยงานที่รับผิดชอบ                 หมวดวิชาสังคม  ศาสนา  และวัฒนธรรม  แผนกมัธยมศึกษา
6. ภาคปีการศึกษา                               2555
7. ชื่อผู้สอน                                          ว่าที่ร.ต.หญิงเกษศรินทร์  แสงสี
8. เงื่อนไขรายวิชา                             
9. สภาพของรายวิชา                         วิชาสามัญทั่วไป
10. ชื่อหลักสูตร                                  
11. ระดับที่สอน                                  มัธยมศึกษาตอนต้นชั้นปีที่ 2
12. จำนวนคาบเรียน                          1  คาบต่อสัปดาห์
13. เนื้อหารายวิชาหรือคำอธิบายรายวิชา
                ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับเครื่องหมายและสัญลักษณ์ทางดนตรี  สร้างสรรค์บทเพลงไทย  เทคนิคการร้องและการประเมินงานดนตรี  อาชีพดนตรี  องค์ประกอบดนตรีในแต่ละวัฒนธรรม  ดนตรีในวัฒนธรรมต่างประเทศ  ประวัติศาสตร์กับดนตรี  ความรู้พื้นฐานด้านนาฏศิลป์ไทย  การแสดงนาฏศิลป์ นาฏศิลป์พื้นเมือง  บูรณาการนาฏศิลป์  หลักและวิธีการแสดงละคร  ละครไทยและละครพื้นบ้าน  ยุคสมัยของละครและการบูรณาการละคร
                กิจกรรมการเรียนรู้ให้ผู้เรียนสังเกตภาพ  ศึกษาใบความรู้  โดยใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์  วิพากษ์วิจารณ์  จำแนกประเภท  อธิบาย  เปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่าง  การสรุปความรู้และการจัดระบบความคิแป็นแผนภาพ  เพื่อให้ผูเรียนเกิดความรู้  ความเข้าใจ  สร้างและนำเสนอผลงานด้านดนตรีและนาฏศิลป์ให้ได้ผลตามที่ต้องการ  สามารถสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจความคิด  ความรู้สึกของตนเอง  เข้าใจความไพเราะและงดงามของดนตรีและนาฏศิลป์  บรรยายและอธิบายเกี่ยวกับดนตรีได้สัมพันธ์และเชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม
               
เห็นความสำคัญและคุณค่าของดนตรีและนาฏศิลป์  นำความรู้ด้านดนตรีและนาฏศิลป์ไปประยุกต์ใช้ในชิวิตประจำวัน  และบูรณาการการเรียนรู้กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น ๆ ตลอดจนสร้างสรรค์ผลงานด้านดนตรีและนาฏศิลป์  เชื่อมั่น  ภาคภูมิใจในการแสดงออก  รับผิดชอบ  มุ่งมั่นในการปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่น  เห็นคุณค่าของดนตรีและนาฏศิลป์ที่เป็นมรดกและเอกลักษณ์ของชาติ
14. มาตรฐานรายวิชา
                1.  มาตรฐาน  ศ 3.1  เข้าใจและแสดงออกทางนาฏศิลป์อย่างสร้างสรรค์  วิเคราะห์  วิพากษ์วิจารณ์คุณค่านาฏศิลป์  ถ่ายทอดความรู้สึก  ความคิดอย่างอิสระ  ชื่นชม  และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
                2.  มาตรฐาน  ศ 3.2  เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างนาฏศิลป์  ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม  เห็นคุณค่าของนาฏศิลป์ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม  ภูมิปัญญาท้องถิ่น  ภูมิปัญญาไทยและสากล
15. วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
                1.  รู้และเข้าใจการใช้นาฏยศัพท์หรือศัพท์ทางการละครในการแปลความและสื่อสารผ่านการแสดง  รวมทั้งพัฒนารูปแบบการแสดง  สามารถใช้เกณฑ์ง่าย ๆ ในการพิจารณาคุณภาพการแสดง  วิจารณ์เปรียบเทียบงานนาฏศิลป์  โดยใช้ความรู้เรื่ององค์ประกอบทางนาฏศิลป์  ร่วมจัดการแสดง  นำแนวคิดของการแสดงไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน
                2. รู้และเข้าใจประเภทละครไทยในแต่ละยุคสมัย  ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของนาฏศิลป์ไทย  นาฏศิลป์พื้นบ้าน  ละครไทย  และละครพื้นบ้าน  เปรียบเทียบลักษณะเฉพาะของการแสดงนาฏศิลป์จากวัฒนธรรมต่าง ๆ รวมทั้งสามารถออกแบบและสร้างสรรค์อุปกรณ์เครื่องแต่งกายในการแสดงนาฏศิลป์และละคร  มีความเข้าใจความสำคัญ  บทบาทของนาฏศิลป์และละครในชีวิตประจำวัน
16. เนื้อหารายวิชา
                หน่วยที่   8 ความรู้พื้นฐานด้านนาฏศิลป์ไทย
                หน่วยที่   9 : การแสดงนาฏศิลป์
                หน่วยที่ 10 : นาฏศิลป์พื้นเมือง
                หน่วยที่ 11 : บูรณาการนาฏศิลป์
หน่วยที่ 12 : หลักและวิธีการแสดงละคร
หน่วยที่ 13 : ละครไทยและละครพื้นบ้าน
                หน่วยที่ 14 ยุคสมัยของละคร
                หน่วยที่ 15 บูรณาการละคร
  
สัปดาห์ที่
ว/ด/ป
เนื้อหา – รายการสอน
จำนวนคาบ
หมายเหตุ
1
28 .. 55
-
มิ.ย. 55
แนะนำวิธีการเรียนการสอน
1

หน่วยที่ 8 : ความรู้พื้นฐานด้านนาฏศิลป์ไทย
-  องค์ประกอบของนาฏศิลป์ไทย
-  หลักและวิธีการสร้างสรรค์การแสดงโดยใช้องค์ประกอบนาฏศิลป์


2
4-8  มิ.ย. 55

หน่วยที่ 8 : ความรู้พื้นฐานด้านนาฏศิลป์ไทย
-  การบูรณาการศิลปะแขนงอื่น ๆ กับการแสดงนาฏศิลป์
-  หลักและวิธีการวิเคราะห์  วิจารณ์การแสดงนาฏศิลป์
1

3
11-15 มิ..55
หน่วยที่ 9 : การแสดงนาฏศิลป์
-  นาฏศิลป์
-  นาฏศิลป์พื้นเมือง
-  รำวงมาตรฐาน
1

4
18-22 มิ.ย.55
หน่วยที่ 9 : การแสดงนาฏศิลป์
-  นาฏศิลป์
-  นาฏศิลป์พื้นเมือง
-  รำวงมาตรฐาน
1

5
25-29 มิ.ย.55
หน่วยที่ 10 : นาฏศิลป์พื้นเมือง
-  ความหมายของนาฏศิลป์พื้นเมือง
-  ที่มาของการแสดงนาฏศิลป์พื้นเมือง
-  วัฒนธรรมและนาฏศิลป์พื้นเมืองของไทย 4 ภูมิภาค
-  ให้นักเรียนจับกลุ่มเพื่อแสดงนาฏศิลป์ของแต่ละภาคอย่างง่าย ๆ
1

6
2-6 ก.ค. 55
หน่วยที่ 10 : นาฏศิลป์พื้นเมือง
-  ให้นักเรียนแบ่งเป็นกลุ่มตามที่ตัวเองได้เลือกไว้  แล้วให้เวลานักเรียนจัดสถานที่และเตรียมความพร้อมเพื่อออกมาแสดงนาฏศิลป์หน้าชั้นเรียนตามลำดับที่ได้ตกลงไว้เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา

1

สัปดาห์ที่
ว/ด/ป
เนื้อหา – รายการสอน
จำนวนคาบ
หมายเหตุ
7
9-13 .. 55
หน่วยที่ 10 : นาฏศิลป์พื้นเมือง
-  ให้นักเรียนแบ่งเป็นกลุ่มตามที่ตัวเองได้เลือกไว้  แล้วให้เวลานักเรียนจัดสถานที่และเตรียมความพร้อมเพื่อออกมาแสดงนาฏศิลป์หน้าชั้นเรียนตามลำดับที่ได้ตกลงไว้เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
1

8
16-20 ก.ค.55
หน่วยที่ 11 : บูรณาการนาฏศิลป์
-  ความสัมพันธ์ของนาฏศิลป์กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น ๆ
1

9
23-27 ก.ค.55
หน่วยที่ 11 : บูรณาการนาฏศิลป์
-  ความสัมพันธ์ของนาฏศิลป์กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น ๆ
1

10
30  .. 55
-
.. 55
หน่วยที่ 12 : หลักและวิธีการแสดงละคร
-  จุดมุ่งหมายของละคร
-  องค์ประกอบของละคร
1

11
6-10 ส.ค.55
หน่วยที่ 12 : หลักและวิธีการแสดงละคร
-  การบูรณาการศิลปะแขนงอื่น ๆ กับการแสดงละคร
-  หลักและวิธีการวิเคราะห์  วิจารณ์การแสดงละคร
1

12
13-17ส.ค.55

หน่วยที่ 13 : ละครไทยและละครพื้นบ้าน
-  ละครไทย
-  ละครพื้นบ้าน
-  ให้นักเรียนแบ่งกลุ่มและให้นักเรียนปรึกษากันว่าจะแสดงละครเกี่ยวกับเรื่องอะไร

1

13
20-24ส.ค.55
หน่วยที่ 13 : ละครไทยและละครพื้นบ้าน
- ให้นักเรียนแบ่งเป็นกลุ่มตามที่ตัวเองได้เลือกไว้  แล้วให้เวลานักเรียนจัดสถานที่และเตรียมความพร้อมเพื่อออกมาแสดงละครหน้าชั้นเรียนตามลำดับที่ได้ตกลงไว้เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา

1

สัปดาห์ที่
ว/ด/ป
เนื้อหา – รายการสอน
จำนวนคาบ
หมายเหตุ
14
27-31ส.ค.55
หน่วยที่ 13 : ละครไทยและละครพื้นบ้าน
- ให้นักเรียนแบ่งเป็นกลุ่มตามที่ตัวเองได้เลือกไว้  แล้วให้เวลานักเรียนจัดสถานที่และเตรียมความพร้อมเพื่อออกมาแสดงละครหน้าชั้นเรียนตามลำดับที่ได้ตกลงไว้เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
1

15
3-7 ก.ย.55
หน่วยที่ 14 : ยุคสมัยของละคร
-  การละครสมัยต่าง ๆ
1

16
10-14 ก.ย.55
หน่วยที่ 14 : ยุคสมัยของละคร
-  การละครสมัยต่าง ๆ
1

17
17-21 ก.ย.55
หน่วยที่ 15 : บูรณาการละคร
-  ความสัมพันธ์ของละครกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น ๆ
1

18
24-28 ก.ย.55
หน่วยที่ 15 : บูรณาการละคร
-  ความสัมพันธ์ของละครกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น ๆ
1

19
1-5 ต.ค. 55
หน่วยที่ 15 : บูรณาการละคร
-  ความสัมพันธ์ของละครกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น ๆ
1

20
8-12 ต.ค. 55
สอบปลายภาค 1/2555
1


 วิธีการจัดการเรียนการสอน
                1. การบรรยาย
                2. การอภิปรายซักถาม
                3. การทำงานกลุ่ม
                4. การลงมือปฏิบัติและศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมด้วยตนเอง
                5. การแสงบทบาทสมมุติ
                6. ปฏิบัติการจริง
 สื่อการสอน
                1. ตำราเรียน
                2. Internet Computer
                3. ตำราค้นคว้าเพิ่มเติมในห้องสมุด
                4. ใบความรู้เพิ่มเติม
                5. วีดีโอชุดการแสดงต่าง ๆ
การวัดและประเมินผล
                1. วิธีการวัดและประเมินผล
                                - ตรวจแบบฝึกหัด
                                - สังเกตพฤติกรรมรายบุคคล
                                - ทดสอบการแสดงของนักเรียน
                2. เครื่องมือที่ใช้วัด
                                -ใบบันทึกเวลาเรียน
                                -ใบบันทึกพฤติกรรมการเรียน
                                -ใบบันทึกกิจกรรมการเรียน
                                -ใบบันทึกคุณภาพงาน 1 และงาน 2
                                -ใบประเมินคุณภาพการแสดงของนักเรียน
                3. เกณฑ์ในการประเมิน
                                การประเมินผลใช้ระบบอิงเกณฑ์ โดยผู้เรียนจะต้องสอบได้คะแนนขั้นต่ำ 50% ขึ้นไป
เกณฑ์การให้คะแนน
                                1. การมาเรียน                                                                                     10 %
                                2. พฤติกรรมการเรียน                                                                         5 %
                                3. กิจกรรมการเรียน                                                                            5 %
                                4. งานที่ได้รับมอบหมาย   1                                                             15 %
                                5. งานที่ได้รับมอบหมาย 2                                                              15 %
                                6. คะแนนประเมินกลางภาคตามสภาพจริง                                15 %
                                7. คะแนนประเมินก่อนปลายภาคตามสภาพจริง                       15 %
                                8. คะแนนประเมินวัดผลสัมฤทธิ์                                                   10 %
                                9. คะแนนสอบปลายภาค                                                                 10  %
                                รวม                                                                                                  100 %


การให้ระดับคะแนน
ระดับคะแนน
ระดับผลการเรียน
80-100  คะแนน
ระดับผลการเรียน     4
75-79    คะแนน
ระดับผลการเรียน  3.5
70-74    คะแนน
ระดับผลการเรียน     3
65-69    คะแนน
ระดับผลการเรียน  2.5
60-64    คะแนน
ระดับผลการเรียน     2
55-59    คะแนน
ระดับผลการเรียน  1.5
50-54    คะแนน
ระดับผลการเรียน     1
ต่ำกว่า 50 คะแนน
ระดับผลการเรียน     0

การขาดเรียน
                    เวลาเรียนเต็ม 54 คาบเรียน ผู้เรียนจะต้องมีเวลาเรียนทั้งหมด80%ของจำนวนคาบเรียนคือไม่น้อยกว่า 44 คาบเรียน และขาดได้ไม่เกิน 10 คาบเรียน